Domo-kun Cute

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16


วัน พุธ ที่ 26 เมษายน พศ. 2560
(เวลา 08:30 - 12:30 น.)


** ปิดคลอสการเรียนการสอน **

บันทึกกาเรียนรู้ครั้งที่ 15


วัน พุธ ที่ 19 เมษายน พศ.2560
( เวลา 08:30 - 12:30 น.)

เนื้อหาที่เรียน

- อาจารย์ให้นักศึกษาลองเขียนแผนและอาจารย์ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

การนำไปประยุกต์ใช้ 

- สามารถนำไปเขียนแผนได้ในอนาคตจริง

การประเมิน

ประเมินตัวเอง : ในครั้งนี้หยุดเรียนเนื่องจากไม่สบาย
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน : -
ประเมินผู้สอน ; - 




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วัน พุธ ที่ 12 เมษายน พศ.2560
(เวลา 08:30 - 12:30 น.)

*** งดการเรียนการสอนเนื่องจากวันสงกรานต์ ***


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วัน พุธ ที่ 5 เมษายน พศ.2560 
(เวลา 08:30 - 12:30 น.)

*** งดการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์มีอบรมที่ต่างจังหวัด***


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วัน พุธ ที่ 29 มีนาคม พศ.2560
(เวลา 08:30 - 12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน 

* โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
       แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
    การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
     IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
     ประโยชน์ต่อเด็ก 
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด้กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
      ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1 การรวบรวมข้อมูล
2 การจัดทำแผน
3 การใช้แผน
4 การประเมินผล



การนำไปประยุกต์ใช้ 

- การเขียนแผนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

การประเมิน

ประเมินตัวเอง : มีการจดบันทึก เข้าเรียน
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน : สนุกสนาน อบอุ่น
ประเมินผู้สอน : สอนเป็นกันเอง อบอุ่น 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วัน พุธ ที่  22 มีนาคม พ.ศ.2560
(เวลา 08:30-12:30 น.)

เนื้อหาที่เรียน

* การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้ษองการพิเศษ
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
2. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
3. การบำบัดทางเลือก
* การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication; AAC)
- การรับรู้ผ่านการมอง
- โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร
- เครื่องโอภา
- โปรแกรมปราศรัย
* บทบาทของครู
- ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
- ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครุ
- จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่นไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
- ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
* การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
- ทักษะทางสังคม
- ทักษะทางภาษา
- ทักษะการช่วยเหลือตัวเอง
- ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

Cr. การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การนำไปประยุกต์ใช้

- หลักการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

การประเมิน

ประเมินตัวเอง : มีการจดบันทึก เข้าเรียนทุกครั้ง
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน : มีการเรียนการสอนที่อบอุ่น
ประเมินผู้สอน : สอนเป็นในรูปแบบอบอุ่น เป็นกันเอง สนุกสนาน










วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


 วัน พุธ ที่ 15 มีนาคม พศ.2560
(เวลา 08:30-12:30 น.)

เนื้อหาที่เรียน

** การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
- รูปแบบการจัดการศึกษา
* การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
* การศึกษาพิเศษ (Special Education)
* การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education / Mainstreaning)
* การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)

- ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
* การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษา
* มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
* ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
* ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

- การเรียนร่วมบางเวลา
- การเรียนร่วมเต็มเวลา

" Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"

- บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
* ครูไม่ควรวินิจฉัย
* ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
* ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
* สังเกตอย่างมีระบบ
* การตรวจสอบ
* ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
* การบันทึกการสังเกต
* การนับอย่างง่ายๆ
* การบันทึกต่อเนื่อง

ภาพวาด




Cr. การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย

การนำไปประยุกต์ใช้ 

- หลักการสอนแบบเรียนร่วมและเรียนรวม


การประเมินตัวเอง : ในวันนี้อาจารย์ได้บอกคะแนนสอบเมื่อครั้งที่แล้วซึ่งได้ 36 คะแนน
ประเมินเพื่อน : ทุกคนตั้งใจเรียนมากและเรียนอย่างสนุก
ประเมินผู้สอน : อาจารย์เป็นกันเอง สอนสนุก ทำให้นักศึกษาอยากที่จะเรียน