Domo-kun Cute

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16


วัน พุธ ที่ 26 เมษายน พศ. 2560
(เวลา 08:30 - 12:30 น.)


** ปิดคลอสการเรียนการสอน **

บันทึกกาเรียนรู้ครั้งที่ 15


วัน พุธ ที่ 19 เมษายน พศ.2560
( เวลา 08:30 - 12:30 น.)

เนื้อหาที่เรียน

- อาจารย์ให้นักศึกษาลองเขียนแผนและอาจารย์ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

การนำไปประยุกต์ใช้ 

- สามารถนำไปเขียนแผนได้ในอนาคตจริง

การประเมิน

ประเมินตัวเอง : ในครั้งนี้หยุดเรียนเนื่องจากไม่สบาย
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน : -
ประเมินผู้สอน ; - 




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วัน พุธ ที่ 12 เมษายน พศ.2560
(เวลา 08:30 - 12:30 น.)

*** งดการเรียนการสอนเนื่องจากวันสงกรานต์ ***


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วัน พุธ ที่ 5 เมษายน พศ.2560 
(เวลา 08:30 - 12:30 น.)

*** งดการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์มีอบรมที่ต่างจังหวัด***


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วัน พุธ ที่ 29 มีนาคม พศ.2560
(เวลา 08:30 - 12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน 

* โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
       แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
    การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
     IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
     ประโยชน์ต่อเด็ก 
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด้กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
      ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1 การรวบรวมข้อมูล
2 การจัดทำแผน
3 การใช้แผน
4 การประเมินผล



การนำไปประยุกต์ใช้ 

- การเขียนแผนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

การประเมิน

ประเมินตัวเอง : มีการจดบันทึก เข้าเรียน
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน : สนุกสนาน อบอุ่น
ประเมินผู้สอน : สอนเป็นกันเอง อบอุ่น 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วัน พุธ ที่  22 มีนาคม พ.ศ.2560
(เวลา 08:30-12:30 น.)

เนื้อหาที่เรียน

* การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้ษองการพิเศษ
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
2. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
3. การบำบัดทางเลือก
* การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication; AAC)
- การรับรู้ผ่านการมอง
- โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร
- เครื่องโอภา
- โปรแกรมปราศรัย
* บทบาทของครู
- ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
- ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครุ
- จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่นไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
- ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
* การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
- ทักษะทางสังคม
- ทักษะทางภาษา
- ทักษะการช่วยเหลือตัวเอง
- ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

Cr. การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การนำไปประยุกต์ใช้

- หลักการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

การประเมิน

ประเมินตัวเอง : มีการจดบันทึก เข้าเรียนทุกครั้ง
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน : มีการเรียนการสอนที่อบอุ่น
ประเมินผู้สอน : สอนเป็นในรูปแบบอบอุ่น เป็นกันเอง สนุกสนาน










วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


 วัน พุธ ที่ 15 มีนาคม พศ.2560
(เวลา 08:30-12:30 น.)

เนื้อหาที่เรียน

** การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
- รูปแบบการจัดการศึกษา
* การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
* การศึกษาพิเศษ (Special Education)
* การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education / Mainstreaning)
* การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)

- ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
* การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษา
* มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
* ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
* ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

- การเรียนร่วมบางเวลา
- การเรียนร่วมเต็มเวลา

" Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"

- บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
* ครูไม่ควรวินิจฉัย
* ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
* ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
* สังเกตอย่างมีระบบ
* การตรวจสอบ
* ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
* การบันทึกการสังเกต
* การนับอย่างง่ายๆ
* การบันทึกต่อเนื่อง

ภาพวาด




Cr. การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย

การนำไปประยุกต์ใช้ 

- หลักการสอนแบบเรียนร่วมและเรียนรวม


การประเมินตัวเอง : ในวันนี้อาจารย์ได้บอกคะแนนสอบเมื่อครั้งที่แล้วซึ่งได้ 36 คะแนน
ประเมินเพื่อน : ทุกคนตั้งใจเรียนมากและเรียนอย่างสนุก
ประเมินผู้สอน : อาจารย์เป็นกันเอง สอนสนุก ทำให้นักศึกษาอยากที่จะเรียน



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9


วัน พุธ ที่ 8 มีนาคม พศ.2560
(เวลา 08:30-12:30 น.)


***จัดการสอบกลางภาคนอกเวลา ซึ่งมีจำนวน 60 ข้อ***



วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


วัน พุธ ที่ 1 มีนาคม พศ.2560
(เวลา 08:30-12:30 น.)

เนื้อหาที่เรียน

- ในวันนี้อาจารย์พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการเลือกโรงเรียน
เริ่มบทเรียน

- 8. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
 (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
* ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
* ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
* ปัญหาทางสุขภาพและขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
1. ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
2. ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
3. สมาธิสั้น (Attention Deficit)
4. การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
5. ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
6. ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง

สาเหตุ
1. ปัจจัยทสงชีวภาพ (ฺBiology)
2. ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)

เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders / ADHD)

ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการคือ 

* Inattentiveness - สมาธิสั้น
* Hyperactivity  - อยู่ไม่นิ่ง
* Impulsiveness  - หุนหันพลันแล่น

9. เด็กพิการซ้อน 
(Children with Multiple Handicaps)
* เด้กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่างเป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
* เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
* เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

- อจารย์แจกปากกาเมจิก 



การนำไปใช้ 

- รู้จักประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- วิธีรับมือกับเด็ก 

การประเมิน 

ประเมินตนเอง : จดบันทึก 
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน : สนุกสนาน 
ประเมินอาจารย์ : สอนสนุกเป็นกันเอง มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาดู 



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


 วัน พุธ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
( เวลา 08:30-12:30 น.)

งดการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ อาจารย์นำนักศึกษาไปดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยา




ดูจากจัดห้องเรียน

เรียนรู้การเขียนสารนิทัศน์

ความรู้สึกที่ได้รับ

- ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเกษมพิทยาน่ารักมากและเป็นกันเองสุดๆ บรรยากาศในโรงเรียนน่าอยู่มากค่ะให้ความรู่้สึกที่อยากจะมาฝึกสอนที่นี้เลย ถ้าเป็นไปได้การอยากจะฝึกสอนที่โรงเรียนเกษมพิทยา


วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6


วัน พุธ ที่  15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
(เวลา 08:30-12:30 น.)


** งดการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์มีปฐมวัยนิเทศรุ่นพี่ปี 5 ***

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วัน พุธ  ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560



เนื้อหาที่เรียน

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ( L.D. : Learning Disability )
- สาเหตุของเด็ก L.D.
* ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้(เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
* กรรมพันธุ์
1. ด้านการอ่าน ( Reading Disorder)
* หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
*อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรือข้ามคำที่อ่านๆม่ได้ไปเลยฃ
*ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่านหรือจับใจความสำคัญไม่ได้
2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
* เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
* เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด 
* เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
3.ด้านการคำนวณ (Mathematic Disorder)
*ตัวเลขผิดลำดับ
*ไม่เข้าใจเรื่องการทดลองหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
*ไม่เข้าหลักเลขหน่วย ลิบ ร้อย
*แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
4. หลายๆด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ L.D. 
*แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
*มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
*เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
*งุ่มง่ามการประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
*สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
*เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
*ทำงานช้า
7. ออทิสติก(Autistic)
*หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
*เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
*ไม่สามารถเข้าใจคำพูก ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
*ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
*เด็กออทิสติดแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
* ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"


การนำไปประยุกต์ใช้ 

- รู้จักถึงเด็กพิเศษแต่ละประเภท
- เข้าใจลักษณะของเด็ก 


การประเมิน

ประเมินตัวเอง : มีการจดบันทึก 
ประเมินบรรยายอากาศในห้องเรียน : เพื่อนๆมาเรียนกันครบ และช่วยกันตอบคำถาม 
ประเมินผู้สอน : สอนเป็นกันเอง สนุกสนาน ดึงดูดให้นักศึกษาตั้งใจเรียน 





วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วัน พุธ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พศ.2560
( เวลา 08:30-12:30 น.)


*** ในวันนี้อาจารย์ในนักศึกษาศึกษาด้วยตัวเองและจัดการเครียบล็อกให้เรียบร้อย






บันทึกเรียนรู้ครั้งที่ 3


วัน  พุธ ที่ 25 มกราคม พศ.2560
(เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน 

*** ในวันนี้ดิฉันขาดเรียนนอกจากไปทำธุระด่วน ***
และนี้คือสิ่งที่อาจารย์สอนในวันนี้

Cr.  ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ



วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


วัน พุธ ที่ 19 มกราคม พศ.2560

(เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน 

- เรียนเรื่อง ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง " เด็กปัญญาเลิศ"

              เด็กฉลาด                                                           Gifted

            ตอบคำถาม                                                          ตั้งคำถาม
            สนใจเรื่องที่ครูสอน                                              เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
            ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน                                    ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
             ความจำดี                                                             อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะแน
            เรียนรู้ง่ายและเร็ว                                                  เบื่อง่าย                  
            เป็นผู้ฟังที่ดี                                                          ชอบเล่า
            พอใจในผลงานของตน                                        ติเตียนผลงานของตน

2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง

          1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
          2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
          3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
          4. เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
          5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
          6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
          7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
          8. เด็กออทิสติก
          9. เด็กพิการซ้อน


เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา  มี2 กลุ่มคือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า
     - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
     - เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
     - ขาดทักษะในการเรียนรู้
    - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
    - มีระดับสติปัญญา(IQ) ประมาณ 71-90

สาเหตุของงการเรียนช้า
- ภายนอก
- ภายใน

เด็กปัญญาอ่อน   แบ่งระดับสติปัญญา(IQ) ได้ 4 กลุ่ม

1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ  20-34
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ   35-49
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย  IQ  50-70

2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

เด็กหูตึง
1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 db
2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งอต่ 41-55 db
3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-77 db
4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 db

เด็กหูหนวก
 - เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
 - เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
 - ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 db ขึ้นไป




Cr. ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

- จากนั้นนักศึกษาได้ร่วมกันไหว้อาจารย์เนื่องจากในวันครู


การนำไปประยุกต์ใช้
- รู้ถึงลักษณะของเด็กพิเศษและข้อแตกต่างของเด็กแต่ละคน

การประเมิน
ประเมินตัวเอง  ตั้งใจเรียน นั่งหน้า มีสมาธิมากขึ้น
ประเมินบรรยากาสในห้องเรียน  เพื่อนๆมาเรียนกันครบ ตั้งใจเรียน เฮฮา อบอุ่น
ประเมินผู้สอน  เฮฮา เป็นกันเอง ตรงต่อเวลา 



วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


วัน พุธ ที่ 11 มกราคม พศ.2560
(เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน

- ในวันนี้อาจารย์แจกใบปั้มการมาเรียนให้นักศึกษาทุกคน


- จากนั้นมีการบททวนเล็กน้อยเรื่องเด็กพิเศษ ที่เคยเรียนไป 
- เริ่มเข้าบทเรียนเบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียนรวมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติ 


- เนื้อหาที่เรียน
 * ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ทางการแพทย์ :  เด็กพิการ คือ เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่องสูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ
ทางการศึกษา :  เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล 

 * พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ 
พัฒนาการ : การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

* เด็กที่มีข้อบกพร่องทางพัฒนาการ
- เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ
- พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง

* ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการเด็ก
- ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
- ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
- ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด

* สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
- พันธุกรรม
- โรคของระบบประสาท
- การติดเชื้อ
- ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
- สารเคมี
- การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
- สาเหตุอื่นๆ

Cr. เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )

การนำไปประยุกต์ใช้

- รู้จักเด็กพิเศษมากขึ้นมีหลายแบบ 


การประเมิน

ประเมินตัวเอง  : มีการจดบันทึก ตั้งใจเรียน
ประเมินบรรยายกาศในห้องเรียน : แอร์เย็นสบาย มาเรียนครบทุกคน
ประเมินผู้สอน : เป็นกันเอง สอนสนุก ไม่เครียด